Forever Alone - Rage Face Comics

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

นิทานเวตาล


สมาชิกผู้จัดทำ

นายชิษณุพงศ์                      เกียรตินันท์                  ขั้น  ม.4/1       เลขที่ 1
นายธนพล                           สุวรรณสุก                    ขั้น  ม.4/1       เลขที่ 3
นายภูธิป                             เทียนเรืองเเสง               ขั้น  ม.4/1       เลขที่ 7
นายวงศธร                           เเก้ววิศิษฐกุล                ขั้น  ม.4/1       เลขที่ 8
นางสาวณัฐวรา                      ศรีนาเเก้ว                     ขั้น  ม.4/1       เลขที่ 16
นางสาวณิชากานต์                 สำลี                            ขั้น  ม.4/1       เลขที่ 17
นางสาวอิศริยา                      อิทธิอำนวยพันธุ์            ขั้น  ม.4/1       เลขที่ 21
นางสาวอโรชา                       หมอสินธุ์                     ขั้น  ม.4/1       เลขที่ 22

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

อิเหนา

เนื้อหาเรื่อง อิเหนา
ผู้ทรงพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ร.๒)
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ร.๑) ทรงพระราชสมภพ พ.ศ. ๒๓๑๐ ได้โดยเสด็จพระบรมชนกนาถไปในกองทัพตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรและกรมพระราชวังบวรสถานมงคลตามลำดับ ทครงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจฟื้นฟูบูรณะประเทศสืบต่อจากพระบรมชนก มีพระอัจฉริยะพิเศษ ทางศิลปะ ประติมากรรม สถาปัตยกรรม วรรณคดี ดนตรีและนาฏศิลป์ ทรงพระราชนิพนธ์บทละครนอก บทละครในได้อย่างไพเราะ สวรรคต พ.ศ. ๒๓๖๗ พระชนมายุ ๕๘ พรรษา
ลักษณะการแต่ง เป็นกลอนบทละคร

ที่มาของเรื่อง
ได้เค้าเรื่องมาจากชวา มีหลักฐานปรากฏในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศในเรื่องปุณโณวาทคำฉันท์ของพระมหานาค วัดท่าทราย กล่าวถึงการสมโภชพระพุทธบาท พรรณนาการมหรสพว่ามีเล่นเรื่องอิเหนาด้วยว่า
“ร้องเรื่องระเด่นโดย บุษบาตุนาหงัน
พักพาคูหาบรร- พตร่วมฤดีโลม”
มีการเล่าต้นเรื่องอิเหนาว่าเจ้าฟ้าหญิงกุณฑลและเจ้าฟ้าหญิงมงกุฏพระราชธิดาของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีนางพระกำนัลเป็นหญิงมลายูชื่อ ยะโว ได้เล่าเรื่องอิเหนา ให้ฟัง เจ้าหญิงทั้งสองได้นำเค้าโครงเรื่องไปทรงนิพนธ์เป็นบทละคร โดยเจ้าฟ้าหญิงกุณฑลทรงนิพนธ์เรื่องดาหลัง (อิเหนาใหญ่) เจ้าฟ้าหญิงมงกุฎทรงนิพนธ์เรื่องอิเหนา (อิเหนาเล็ก) ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า ต้นฉบับทั้งสองเรื่องคงเสียหายไปครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ รัชกาลที่ ๒ จึงทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นฉบับที่ดีเลิศทั้งในกระบวนวรรณศิลป์และนาฏศิลป์สมกับที่ได้รับยกย่องให้เป็นยอดของกลอนบทละครรำ

 จุดประสงค์ในการแต่ง
๑. เพื่อใช้เล่นละครใน
๒. เพื่อป้องกันการสูญหาย และรักษาไว้เป็นมรดกของชาติสืบไป